เมนู

สํขยา ได้แก่ เพราะสิ้นตัณหาอันนำไปสู่ภพ. บทว่า สมฺปรายิกา ได้แก่
อันมีในเบื้องหน้า คือในส่วนอื่นจากทำลายขันธ์. บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ใน
อนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า ภวานิ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส อุบัติภพ
ไม่เหลือโดยประการทั้งปวงย่อมดับ คือ ย่อมไม่เป็นไป บทว่า เต ได้แก่
ชนเหล่านั้นมีจิตพ้นแล้วอย่างนี้. บทว่า ธมฺมสาราธิคมา ได้แก่ เพราะ
เป็นผู้มีวิมุตติเป็นสาระคือเพราะบรรลุพระอรหัตอันป็นสาระในธรรมทั้งหลาย
แห่งธรรมวินัยนี้. บทว่า ขเย ได้แก่ยินดี ยินดียิ่งแล้วในนิพพานอันเป็นที่
สิ้นกิเลสมีราคะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง อันเป็นสาระในธรรมทั้งหลาย โดย
ความเป็นของเที่ยง และโดยความเป็นของประเสริฐที่สุด เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มีธรรมเป็นสาระ คือนิพพาน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
วราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ วิราคะประเสริฐ
กว่าธรรมทั้งหลาย และวิราคะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. ชนทั้ง
หลายยินดีแล้วในอนุปาทิเสสนิพพานเป็นที่สิ้นสังขารทั้งปวง เพราะเหตุบรรลุ
ธรรมอันเป็นสาระนั้น. บทว่า ปหํสุ คือ ละแล้ว. บทว่า เต เป็นเพียง
นิบาต. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ 7

8. สัลลานสูตร


ว่าด้วยการหลีกเร้นมีผล 2 อย่าง


[223] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มา

ยินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายใน
เนื่อง ๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว
ในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนือง ๆ มีฌาน
ไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล 2 อย่าง
คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระ-
อนาคามี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญา
เป็นเครื่องรักษาตน มีสติ มีฌาน ไม่มี
ความเพ่งเล็งในตามทั้งหลาย ย่อมเห็นแจ้ง
ธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่
ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม
รอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบสัลลานสูตรที่ 8

อรรถกถาสัลลานสูตร


ในสัลลานสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิสลฺลานารามา ได้แก่ เป็นผู้หลีกเลี่ยงจากสัตว์และสังขาร
เหล่านั้น ๆ แล้วหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว ชื่อว่ามีกายวิเวก เพราะเสพเอกมรรค. ชื่อว่า
ปฏิสลฺานารามา เพราะเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่ยินดีถือเป็นที่ชอบใจ.
บาลีว่า ปฏิสลฺลานารามา ดังนี้บ้าง. ชื่อว่าปฏิสลฺลานารามา เพราะเป็น
ผู้มีความหลีกเร้นดังกล่าวแล้วเป็นที่มายินดี เพราะควรมายินดี. บทว่า วิหรถ
ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เป็นอย่างนี้อยู่เถิด. ชื่อว่าปฏิสลฺลานรตาเพราะ
เป็นผู้ยินดีแล้ว คือ ยินดีเป็นนิจ เบิกบานแล้วในความหลีกเร้น.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ การประกอบความเพียรและความเป็นผู้มีการหลีก
เร้น อันเป็นนิมิตแห่งการประกอบความเพียรนั้น ท่านแสดงไว้แล้ว. การ
ประกอบความเพียรเว้นจากธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ สีลสังวร ความเป็นผู้มี
ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ สติ
และสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าธรรมแม้เหล่านั้น
ท่านกล่าวไว้ในที่นี้โดยเนื้อความเท่านั้น.
บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนฺยุตฺตา ได้แก่ประกอบจิตของตน
ไว้ในสมถะ. บทว่า อชฺฌตฺตํ อตฺตโน นี้ ความอย่างเดียวกัน พยัญชนะ
เท่านั้นต่างกัน . บทว่า สมถํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ
โดยประกอบตามศัพท์. บทว่า อนิรากตชฺฌานา ได้แก่ มีฌานไม่นำออกไป
ภายนอกหรือมีฌานไม่เสื่อม. บทนี้ว่า การนำออกหรือความเสื่อมชื่อว่านิรากตํ
ดุจในคำมีอาทิว่า ถมฺภํ นิรํกตฺวา นิวาตวุตฺติ การประพฤติอ่อนน้อมเพราะ